วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติศาสตร์ชนชาติอิสราเอลโดยสังเขป

ประวัติศาสตร์ชนชาติอิสราเอลโดยสังเขป อาทิตย์ที่ 5-7-2009
๑.สมัยบรรพบุรุษของอิสราเอล 2000-1550ปี ก่อนค.ศ. (ปฐม.12-13)
พระเจ้าทรงเรียกอับราฮัม (1921ปี ก่อนค.ศ.) อับราฮัมออกเดินทางจากเมือง เออร์ ไปปาเลสไตน์ (คานาอัน) และอียิปต์ แล้วกลับปาเลสไตน์ ที่นี่พงศ์พันธ์ของอับราฮัมเพิ่มพูนขึ้นจากอิสอัค ยาโคป และบุตรทั้ง๑๒คนของยาโคป และเมื่อโยเซฟถูกพี่น้องขายไปเป็นทาสในอียิปต์ ได้กระทำการดีทุกอย่าง จนได้รับความโปรดปรานจากฟาโรห์ ซึ่งขณะนั้นฟาโรห์ไม่ใช่ชาวอียิปต์แต่เป็นพวกฮิกซอส (พวกที่ต้นกำเนิดมาจากเชม <เซไมท์>เช่นเดียวกับพวกฮีบรู) จึงเป็นเหตุผลที่สนับสนุน ในการที่โยเซฟได้รับตำแหน่งสูงในอียิปต์ เมื่อเกิดการกันดารอาหารโยเซฟก็ได้พาครอบครัว ญาติพี่น้องของตนเข้าไปอยู่ในอียิปต์ ที่แคว้นโกเชน และได้อยู่อย่างมีความสุขตลอดชั่วอายุของคนรุ่นนั้น (ปฐม.37-50)
หลังจากปี 1550 ก่อนค.ศ. เมื่อฮิกซอสหมดอำนาจและถูกขับไล่ออกจากอียิปต์ พวกฮีบรูพี่น้องของโยเซฟที่อาศัยอยู่ในแคว้นโกเชนจึงพลอยหมดความสำคัญ และถูกเปลี่ยนฐานะตกเป็นทาสในประเทศอียิปต์ตั้งแต่นั้นมา
๒.สมัยอพยพ 1550-1250 ปี ก่อนค.ศ. (ตั้งแต่เริ่มอพยพออกจากประเทศอียิปต์ (อพยพ) > ในถิ่นทุรกันดาร (กันดารวิถี,เลวีนิติ,เฉลยธรรมบัญญัติ) >บุกยึดคานาอัน (โยชูวา) โมเสสได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้าให้เป็นผู้นำทาสชาวฮีบรูออกจากอียิปต์ ในช่วงนี้โมเสสต้องเผชิญหน้ากับฟาโรห์แห่งอียิปต์ และมีเหตุการณ์ที่ประเทศอียิปต์ต้องประสบกับภัยพิบัติ จนในที่สุดชนชาติฮีบรูก็ได้อพยพออกจากอียิปต์ (อพย.1-13) ข้ามทะเลแดง มุ่งสู่ซีนาย ได้เข้าพันธสัญญากับพระเจ้า และพระเจ้าก็ทรงประทานฐานะใหม่ให้แก่ชาวฮีบรูเป็นชนชาติอิสราเอล พร้อมทั้งประทานพระบัญญัติสิบประการให้เป็นกฎหมายที่อิสราเอลต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด (อพย.14-20)
หลังจากนั้นอิสราเอลก็ต้องรอนแรมอยู่ในถิ่นทุรกันดารเกือบ40ปี เพราะความกบฎของประชาชน คนรุ่นเก่ายกเว้นโยชูวากับคาเลบ จึงถูกพระเจ้าพิพากษาและตัดสิทธิการเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญา (กดว.14:20-35) ต่อเมื่อคนรุ่นเก่าเดินทางวนเวียนอยู่ในถิ่นทุรกันดารจนตายครบทุกคนแล้ว อิสราเอลจึงได้เดินทางมุ่งหน้าสู่ปาเลสไตน์ หรือดินแดนคานาอันต่อไป (ฉธบ.2:1-3)
เมื่อโมเสสสิ้นชีวิตลง ขณะที่ชนชาติอิสราเอลตั้งค่ายอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งโยชูวาให้เป็นผู้นำชาติอิสราเอลแทนโมเสสในการเข้าบุกยึดดินแดนคานาอัน และการเข้ายึดครองคานาอันครั้งนี้ โยชูวาก็สามารถนำทัพอิสราเอลให้ได้รับชัยชนะทุกเมืองที่เข้าโจมตี แม้ว่าจะมีอุปสรรคจากความไม่เชื่อฟัง และถูกพระเจ้าพิพากษาโทษบ้าง แต่อิสราเอลก็กลับใจใหม่ นำพาให้ได้รับชัยชนะเหนือศัตรูได้ในที่สุด ......นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับสมัยที่อิสราเอลตั้งถิ่นฐานในคานาอันว่า มีซากเมืองต่างๆถูกเผาทำลายประมาณใน ปีที่1300ก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับสมัยของโยชูวา ยิ่งกว่านั้นยังมีหลักฐานที่ยืนยันว่า เมืองที่ถูกทำลายแล้วได้ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยฝีมือของคนอิสราเอลซึ่งเป็นการสร้างด้วยฝีมือและวัสดุที่ด้อยกว่าของเก่าที่ถูกทำลาย เหตุเพราะคนอิสราเอลในขณะนั้นยังเพิ่งเริ่มต้นเป็นชนชาติใหม่และเป็นชนชาติเล็กๆที่ยังไม่มีความเจริญเท่ากับคนในเมืองที่ถูกทำลาย
สิ่งนี้ก็เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สนับสนุนความเป็นจริงที่พระคำภีร์ได้บันทึกไว้
๓.สมัยสหพันธ์สิบสองเผ่า 1250-1020ปี ก่อนค.ศ. (ช่วงที่อิสราเอลได้อาศัยอยู่ในคานาอัน >จนถึงสมัยผู้วินิจฉัยและนางรูธ)
ช่วงเวลานี้นับจากที่โยชูวาได้จัดสรรที่ดินในปาเลสไตน์ให้แก่ชนชาติอิสราเอลทั้ง๑๒เผ่าได้อยู่อาศัย ตามเขตแดนของตนเองเรียบร้อยแล้ว แต่อิสราเอลเกือบทุกเผ่าไม่ได้อยู่ตามลำพังแต่พวกเขาอยู่ปะปนกับคนพื้นเมืองเดิม ซึ่งเป็นสถานะการณ์ที่อันตรายต่อความเชื่อของอิสราเอลอย่างมาก และเมื่อถึงสมัยผู้วินิจฉัย ในพระคำภีร์ก็บันทึกไว้ว่า เมื่อหมดสมัยของโยชูวาแล้ว คนอิสราเอลรุ่นใหม่ก็หลงเจิ่นไปจากพระเจ้าหันไปเอาอย่างชาวคานาอันพื้นเมืองเดิม และนมัสการพระของพวกเขา
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความชั่วร้ายในสายพระเนตรพระเจ้า พระเจ้าจึงให้ศัตรูมาทำลายอิสราเอล และเมื่อพวกเขาทนทุกข์หนักเข้า ก็หันกลับมาหาพระเจ้า พระเจ้าก็ทรงเมตตาส่งผู้วินิจฉัยมาปลดปล่อยอิสราเอลออกจากอำนาจของศัตรู เมื่อคนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาสุขสบายดีก็หลงลืมพระเจ้าอีก พอถูกพระเจ้าพิพากษาและทนทุกข์มากๆเข้าก็ค่อยหันกลับมาหาพระเจ้า พระเจ้าก็ประทานความช่วยเหลือผ่านผู้วินิจฉัยอีก ชีวิตของอิสราเอลสิบสองเผ่าก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ
ผู้วินิจฉัย คือใคร ผู้วินิจฉัย คือ บุคคลที่พระเจ้าทรงเรียกมาปลดปล่อยอิสราเอลให้หลุดพ้นจากอำนาจของศัตรูในสถานะการณ์ต่างๆ โดยผู้วินิจฉัยนั้นจะมีลักษณะที่พิเศษดูมีศักยภาพในสายตาของคนอิสราเอล เพราะว่าพระวิญญาณของพระเจ้าได้ทรงสวมทัพเขา จึงทำให้มีความเก่งกล้า สามารถ ชำนาญในการบ และสามารถปลดปล่อยอิสราเอลให้หลุดพ้นจากอำนาจของศัตรูได้เสมอ
๔.สมัยอาณาจักรเดียว 1020-922 ปี ก่อนค.ศ. (ช่วงสมัยของก.ดาวิดใน1ซามูเอล >และจบลงเมื่อสิ้นสุดสมัยของก.ซาโลมอน ใน 1 พงศ์กษัตริย์ รวมทั้ง1และ2 พศว.ด้วย)
ในช่วงสมัยของก.ดาวิด ประเทศอิสราเอลเป็นอาณาจักรใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอิสราเอล หลังจากที่ก.ดาวิดสิ้นพระชนม์ ซาโลมอนก็สืบราชสมบัติต่อ มีการก่อสร้างพระวิหาร รวมทั้งพระราชวัง ป้อมปราการต่างๆอย่างมากมายตลอดรัชสมัยของก.ซาโลมอน ..........แต่ไม่นานซาโลมอนนั้นก็ได้กระทำผิดต่อพันธสัญญาของพระเจ้าและต่อพี่น้องอิสราเอลด้วย สาเหตุสำคัญอันหนึ่งก็เพราะพระองค์ทรงรักหญิงต่างชาติ และมีมเหสีเป็นชาวต่างชาติหลายคน พระเจ้าจึงบันดาลให้มีศัตรูเกิดขึ้นต่อสู้ซาโลมอน จากการกบฎทั้งทางเหนือ คือ ซีเรีย และทางใต้ คือ เอโดม รวมทั้งอีก 20 หัวเมืองทางตะวันตกที่ต้องยกคืนให้กับฟีนีเชีย ทำให้อาณาจักรที่ดาวิดสร้างไว้ถูกตัดลงถึง ๓ ด้าน
แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเห็นแก่ดาวิดผู้รับใช้ของพระองค์ พระเจ้าจึงทรงบัญชาว่า พระองค์จะไม่ทรงเอาอาณาจักรออกจากการครอบครองของซาโลมอน แต่จะทรงเอาออกในสมัยของเรโหโบอัม บุตรชายของซาโลมอน และจะไม่เอาไปทั้งหมด แต่จะเอาไปสิบเผ่า เหลือให้เรโหโบอัม บุตรของซาโลมอนเพียงเผ่าเดียว และพระเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ทั้งนี้เพื่อประทีปดวงหนึ่งจะอยู่ต่อหน้าพระองค์ ในพงศ์พันธ์ของดาวิดผู้รับใช้ของพระองค์เสมอ คำว่าประทีปดวงหนึ่งในที่นี้ หมายถึง พระเยซูคริสต์ ซึ่งพระเจ้าได้ทรงกำหนดถึงการมาบังเกิดของพระเยซูคริสต์ ไว้แล้วว่า พระองค์จะทรงเสด็จมาทางเชื้อสายของก.ดาวิด (เรื่องราวอันเป็นสาเหตุการแตกแยกของประเทศอิสราเอลเหล่านี้ถูกบันทึกไว้ใน 1พกษ.11-40)
๕.สมัย๒อาณาจักร 922-876 ปี ก่อนค.ศ.
สมัย๒อาณาจักร จะเริ่มขึ้นหลังจากที่ก.ซาโลมอนสิ้นพระชนม์แล้ว ประเทศอิสราเอลถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ อาณาจักรฝ่ายเหนือสิบเผ่า เรียกว่า ประเทศอิสราเอล ปกครองโดยกษัตริย์ที่เลือกโดยผู้เผยพระวจนะ คือ เยโรโบอัม (คนเผ่าเอฟราอิม) ซึ่งเป็นขุนพลคนขยันของก.ซาโลมอน และอาณาจักรฝ่ายใต้ เรียกว่า ประเทศยูดาห์ (หรืออาณาจักร ยูดาห์) ปกครองโดยก. เรโหโบอัม บุตรชายของซาโลมอน เมื่อแบ่งแยกแล้วทั้งสองฝ่ายยังเป็นศัตรูกันเองตลอดเวลา ทำให้อ่อนแอ และมักจะถูกชาติอื่นๆแทรกแทรงอยู่เสมอ (ช่วงนี้ปรากฎอยู่ใน หนังสือ 1พกษ. 12 เป็นต้นไปรวมทั้ง1และ2พศว.)
๖.สมัยแห่งการคืนดีของยูดาห์กับอิสราเอล 876-800 ปีก่อนค.ศ.
ประเทศอิสราเอลเจริญขึ้นในสมัยของก.อมรี มีนโยบายการทำสัมพันธไมตรีกับประเทศข้างเคียงโดยการแต่งงาน อิสราเอลและยูดาห์จึงคืนดีกันโดยการแต่งงานของทั้งสองราชวงศ์ และราชวงศ์อมรีก็จบสิ้นลงเพราะการปฏิวัติของเยฮู (ช่วงนี้ถูกบันทึกไว้ใน 1พกษ.-2 พกษ.)
๗.สมัยหลังการปฏิวัติ 800-746 ปี ก่อนค.ศ. (2พกษ.)
เมื่อเยฮูขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็ได้ทำการกวาดล้างศาสนาบาอัลและทำลายราชวงศ์อมรีจนสูญสิ้น หลังจากนั้นสถานะการณ์ของอิสราเอลก็แย่ลง เพราะมีศัตรูรอบด้าน จนถึงสมัยของเยโรโบอัมที่๒ อิสราเอลและยูดาห์จึงกลับสู่ยุคแห่งความเจริญอีกครั้ง
๘.สมัยอัสซีเรียเรืองอำนาจ 746-610 ปี ก่อนค.ศ.(2พกษ.และ 2 พศว.)
เมื่ออิสราเอลและยูดาห์รุ่งเรืองขึ้น พวกเขาไม่ได้ดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรมในสายพระเนตรพระเจ้า ขณะเดียวกันอัสซีเรียกลับมาเรืองอำนาจขึ้น และพระเจ้าก็ทรงใช้อัสซีเรียเป็นเครื่องมือในการตีสอนอิสราเอลและยูดาห์ อิสราเอลจึงหมดสภาพความเป็นประเทศ ส่วนยูดาห์ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอัสซีเรีย จนถึงรัชสมัยของก.โยสิยาห์ ยูดาห์จึงสามารถเป็นอิสระจากอัสซีเรียได้
๙.สมัยบาบิโลนเรืองอำนาจ 610-539 ปี ก่อนค.ศ. (2พกษ. /2 พศว.)
เมื่อมีเดียและบาบิโลนร่วมกันปราบอัสซีเรียจนพ่ายแพ้ ขณะนั้นยูดาห์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอียิปต์ ดังนั้นเมื่ออียิปต์พ่ายแพ้ต่อบาบิโลนที่คาร์เคมิช ยูดาห์จึงตกเป็นเมืองขึ้นของบาบิโลนด้วย ตลอดเวลาที่ตกเป็นเมืองขึ้นของบาบิโลนนั้น ยูดาห์พยายามกอบกู้เอกราชหลายต่อหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ เป็นเหตุให้ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยถึง ๓ ครั้ง ทั้งกรุงเยรูซาเล็มก็ถูกเผาทำลายจนหมดสิ้น
๑o.สมัยเปอร์เซียเรืองอำนาจ 539-331 ปี ก่อนค.ศ.
เมื่อก.ไซรัสแห่งเปอร์เซียมีชัยเหนือบาบิโลน พระองค์ได้ปล่อยชาวยูดาห์กลับประเทศ ในครั้งนั้นได้มีการสร้างพระวิหาร กำแพงเมือง จัดระเบียบสังคมใหม่ และมีการนำพระธรรมโทราห์กลับมาเป็นกฏหมายของยูดาห์ ทั้งหมดนี้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือเอสราและเนหะมีย์
และแล้วยุคแห่งพันธสัญญาเดิมก็ได้สิ้นสุดลงตรงนี้ ที่การปกครองของเปอร์เชีย ประมาณ 400 ปีก่อน ค.ศ.
๑๑.สมัยกรีกเป็นมหาอำนาจ 331-65 ปีก่อนค.ศ.
เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีก มีชัยเหนืออาณาจักรเปอร์เชีย รวมทั้งอาณาจักรอื่นๆอีกมากมาย ทั้งปาเลสไตน์ ซีเรีย เมโสโปเตเมีย อียิปต์ ต่างก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรกรีกทั้งสิ้น เมื่ออเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์แล้ว อาณาจักรกรีกทั้งหมดก็ถูกแบ่งออกเป็น ๕ แคว้น
ส่วนยูดาห์นั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ปโตเลมีแห่งอียิปต์ ในตอนแรก ต่อมาอันติโอคัสที่๓ ได้แย่งชิงยูดาห์มาจากกรีก ยูดาห์จึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของซีเรีย หลังจากนั้นยูดาห์ก็ถูกกดขี่ และละเมิดสิทธิทางศาสนาอย่างมาก เป็นเหตุให้ตระกูลแม็คคาบีร์ปฏิวัติต่อต้านจนสำเร็จในที่สุด และได้ตั้งกษัตริย์ขึ้นปกครองยูดาห์
๑๒.สมัยอาณาจักรโรมัน 65 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 70
ความขัดแย้งภายในตระกูลแม็คคาบี เป็นสาเหตุที่ทำให้โรมันเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองยูดาห์ ในครั้งนั้น ทางโรมได้ตั้งแอนติพาเตอร์ ซึ่งเป็นชาวเอโดมมาปกครองยูดาห์ หลังจากนั้นบุตรชายของเขา คือ เฮโรดมหาราช ก็ขึ้นครองปาเลสไตน์ในสมัยที่พระเยซูคริสต์ทรงมาเกิดนั่นเอง ซึ่งนั่นหมายถึงว่า ยุคพันธสัญญาใหม่ ได้เปิดฉากขึ้นภายใต้การปกครองของโรม.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น